บิ๊กทุนชิงทำเลใกล้สวนสาธารณะ แลนด์มาร์คระดับโลก หลัง รัฐบาล-กทม. เพิ่มปอดใหม่กลางกรุง อุทยานเฉลิมพระเกรียรติ ร.9 เชื่อม รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ทุบโรงแรม บูรพาสามยอด ผุดสวนติดสถานีสีม่วงใต้ คลองสวนสาธารณะช่องนนทรี เร่งสะพานเขียวเชื่อม2สวนลุมพินี-เบญจกิติ
กรุงเทพมหานครพลิกโฉมเมือง เพิ่มปอดหรือสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ยกคุณภาพชีวิตให้กับคนกรุง ซึ่งวันนี้ยังไม่สายเกินไปไม่ว่าพื้นที่เล็กหรือใหญ่สามารถจัดทำพื้นที่สีเขียวรักษ์โลกได้ ทั้งพื้นราบ บ้านเรือนประชาชน ตลอดจนบนอาคารสูงเนื่องจากที่ดินค่อนข้างจำกัด
จึงเป็นสาเหตุให้ ย่านศูนย์กลางธุรกิจ แน่นไปด้วยตึกสูงเพราะต้องการรองรับการอยู่อาศัยใหล้แหล่งงานอีกทั้งปัญหาจราจรคับคั่งมักสร้างฝุ่นพิษ PM.2.5 ที่มากับการเผาไหม้จากเครื่องยนต์
ขณะโครงการของภาคเอกชน ในปัจจุบันมักใช้พื้นที่สีเขียวสร้างจุดขาย และยังสามารถเพิ่มพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ได้จากโบนัสของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร หากเอกชนยอมเสียสละพื้นที่บางส่วน บนที่ดินของตนเองสร้างสวนสาธารณะทางจักรยาน บาทวิถีฯลฯ บึงรับน้ำ สวนน้ำ
เพื่อพักผ่อนหย่อนใจและแก้ปัญหาน้ำท่วม เพื่อส่วนร่วม นอกเหนือไปจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามข้อบังคับของการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
อย่างไรก็ตามข้อได้เปรียบ ที่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มักชิงไหวชิงพริบไล่ซื้อที่ดินแนวรถไฟฟ้าที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นทำเลหายากแล้ว ปัจจุบัน ยังให้ความสนใจเจาะทำเลติดสวนสาธารณะของภาครัฐเพราะมีข้อได้เปรียบหลายชั้นนอกจากได้ปอดที่ดีบรรยากาศวิวสวนสวยแล้วยัง เป็นพื้นที่ออกกำลังกายเหมือนสวนส่วนตัวใกล้บ้านซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าต่างชาติ ที่สำคัญยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินและโครงการอีกด้วย
เริ่มตั้งแต่ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรืออุทยานเฉลิมพระเกียรติร.9 เดิมเป็นสนามม้านางเลิ้ง ตั้งอยู่เขตดุสิต โดยพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10ทรงพระราชทานให้มีการพัฒนามอบความสุขอย่างยั่งยืนให้กับคนกรุงเทพ ฯและเพื่อให้การเดินทางมายังอุทยานสะดวกขึ้น คณะทำงานโครงการฯได้วางแผน เชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)ยิ่งจุดพลุทำเลทองที่น่าจับตา
โรงแรมบูรพาสามยอดที่จะทุบทิ้ง
โรงแรมบูรพาสามยอดที่จะทุบทิ้ง
นอกจากนี้สำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ยังมอบที่ดิน จำนวนหนึ่งแปลงเพื่อพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ กลางกรุงเก่า ปัจจุบัน เป็นโรงแรมบูรพาสามยอด ซึ่งหมดสัญญาและเป็นโรงแรมร้าง ตั้งอยู่ อยู่บริเวณจุดก่อสร้างสถานีสามยอด รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)ตัดกับMRTสายสีน้ำเงิน(สถานีสามยอด)
หาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เริ่มตอกเสาเข็ม รถไฟฟ้าเส้นนี้ โรงแรมดังกล่าวจะต้องถูกทุบทิ้งพลิกสู่ปอดแห่งใหม่ติดสถานีรถไฟฟ้า ทันที ขณะราคาที่ดินปัจจุบัน ไม่ต่ำกว่า1.75 ล้านบาทต่อตารางวา เนื่องจากถนนเจริญกรุง ไชน่าทาวน์ เยาวราชเป็นทำเลศักยภาพสูง
อีกสวนสาธารณะที่สร้างความฮือฮาไม่แพ้ที่อื่น คือ คลองสวนสาธารณะช่องนนทรี สวนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย 9,000เมตร และมีแห่งเดียวในโลก ที่พลเอกอัศวิน ขวัญเมืองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้พัฒนาขึ้นสร้างเป็นปอดของคนเมืองสร้างจุดขายให้กับคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน
เชื่อมโยงถึงย่านธุรกิจใน 3 พื้นที่เขต ได้แก่ เขตบางรัก สาทร และยานนาวา จากถนนสุรวงศ์ ถนนสีลม ถนนสาทร ถนนจันทน์ ถนนรัชดาภิเษก ไปจรดถนนพระรามที่ 3 ทำให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนในเมืองด้วย
ไม่ต่างกับการพัฒนาสะพานเขียวเชื่อม2สวนเข้าด้วยกันที่เป็นแลนด์มาร์คระดับโลก สำหรับสวน ลุมพินีกับสวนป่าเบญจกิติ ซึ่งปัจจุบันมีทางด่วนคั่นกลาง และถูกโอบล้อมด้วยโครงการมิกซ์ยูส คอนโดมิเนียมซุปเปอร์ลักชัวรีซึ่งมี บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ค่ายดังเข้าไปปักหมุด บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงและมองเห็นวิว ได้แก่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ในทำเลบลูโอเชี่ยนหรือทำเลที่ไม่มีการแข่งขันสู้รบเตรียมเนรมิต COCO PARC (โคโค่ พาร์ค)
แบรนด์ใหม่ ทำเลติดถนนพระราม 4 ใกล้ MRT คลองเตย มูลค่าโครงการ 4,622 ล้านบาท จำนวน 486 ยูนิต เห็นวิวทั้งสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 2565ที่เรียกกำลังซื้อได้อย่างมากในเวลานี้ เช่นเดียวกับบมจ.แสนสิริ หลังจาก“MBK Life”ที่ดินพร้อมอาคารเนื้อที่1ไร่เศษแปลงหัวมุมถนนสารสิน ติดสวนลุมย่านปทุมวัน ในราคา 3.9 ล้านบาทต่อตารางวา แพงที่สุดในไทยซึ่งมีแผนรองรับคอนมิเนียมซุปเปอร์ลักชัวรีรองรับต่างชาติ หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย
แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กทม.มีแผนขยาย พื้นที่สีเขียว ให้ได้ 10 ตารางเมตรต่อคนภายในปี 2573สำหรับปลายปี 2564 – 2565 เตรียมเปิดสวนสาธารณะให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์อีก 9 แห่ง ได้แก่
สวนสวนเทียนทะเลพัฒนาพฤษาภิรมย์ ภายในสถานีพัฒนาที่ดินบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน พื้นที่ 37 ไร่
สวนจากภูผาสู่มหานที ภายในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร พื้นที่ 26 ไร่ 3. สวนสาธารณะบริเวณถนนพุทธมณฑลสาย
เขตทวีวัฒนา พื้นที่ 98 ไร่
สวนป่านิเวศอ่อนนุช เขตประเวศ ระยะที่ 1 พื้นที่ 18 ไร่
สวนป่านิเวศหนองแขม เขตหนองแขม พื้นที่ 14 ไร่
สวนป่าเอกมัย เขตวัฒนา พื้นที่ 5.6 ไร่
สวนริมแม่น้ำเจ้าพระยา เขตคลองสาน พื้นที่ 2 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา
พื้นที่ภายในซอยวชิรธรรมสาธิต 35 เขตพระโขนง พื้นที่ 14 ไร่
ลานกีฬาแสงทิพย์ ซอยปรีดีพนมยงค์ 2 เขตวัฒนา พื้นที่ 5.4 ไร่
นอกจากนี้ยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวในลักษณะของสวนสาธารณะทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อาทิ ปลูกต้นไม้ในพื้นที่เกาะกลางถนน พื้นที่ใต้แนวรถไฟฟ้า โดยพิจารณาเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะกับลักษณะของพื้นที่
นาย สุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟินิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่จำกัด บริษัทวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ทำเลใกล้สวนสาธารณะในเมือง ที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา มองว่าเป็นจุดขายที่ดีเพราะเป็นทำเลเฉพาะที่ค่อนข้างหายาก